โครงสร้างพื้นฐาน อบต.ท่าคอย
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอย ในอดีตใช้การเดินทาง ทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ในการสัญจรไปมา และเป็นปัญหาในฤดูแล้งน้ำน้อยไม่สามารถเดินทางมาค้าขายได้สะดวก จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องอาศัยเดินทางตามคันนาหรือคันดินริมคลองแทนคลอง และด้วยการเจริญของท้องถิ่นและเศรษฐกิจจึงทำให้มีการทำถนนดินหรือลูกรังในสมัยแรก ๆ ซึ่งไม่ได้มาตรฐานทำให้เป็นหลุมเป็นบ่อเวลาฤดูฝนน้ำท่วมขังเพราะยังไม่มีระบบระบายน้ำ ฤดูแล้งก็มีแต่ฝุ่นละอองเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอย จึงได้ทำนุบำรุงทางน้ำ ทางบก ให้ดีขึ้นประชาชนได้รับความสะดวก สบาย มีทางที่ราบเรียบ มีไฟฟ้าสว่าง ทางน้ำได้ทำการขุดลอกคูคลอง และเก็บเศษขยะ วัชพืชทุกปี ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอย ได้ดำเนินการจัดสร้างถนนให้เป็น คสล. และลาดยาง ตลอดจนการจัดทำระบบระบายน้ำให้มากขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ส่วนน้ำสำหรับบริโภคนั้น ประชาชนใช้น้ำประปาหมู่บ้าน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอยเป็นผู้ดูแลและบริหารให้ประชาชนเอง ด้านไฟฟ้าองค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดทำไฟฟ้าสาธารณะตามถนน และซอยต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดมา
การคมนาคม
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอยมีเส้นทางรอยต่อกับจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 2 สาย คือ

ถนนเพชรเกษม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4

ถนนเลียบคลองชลประทาน

ระยะทางจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอยไปจังหวัดเพชรบุรี 28 กิโลเมตร และ

ระยะทางจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอยไปประจวบฯ 82 กิโลเมตร
แม่น้ำ/ลำห้วย
คลองในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอย มี 1 ลำห้วย คือ

ลำห้วยยาง
การประปา

จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา 683 ครัวเรือน

หน่วยงานเจ้าของกิจการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาและแหล่งน้ำดิบสำรอง
การไฟฟ้า

จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 683 ครัวเรือน

พื้นที่ที่ได้รับบริการไฟฟ้า ร้อยละของพื้นที่ทั้งหมด 100

ไฟฟ้าสาธารณะ (ไฟฟ้าส่องสว่าง) ยังไม่ครอบคลุมถนนทุกสายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอย
การสื่อสาร

จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคลในพื้นที่กี่หมายเลข -

จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่กี่หมายเลข ๗ หมายเลข

จำนวนชุมสายโทรศัพท์ในเขตพื้นที่และจำนวนเลขหมายที่สามารถให้บริการได้สูงสุด -
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข/ที่ให้บริการด้านไปรษณีย์ในพื้นที่ อยู่นอกเขต องค์การบริหาร ส่วนตำบล

สถานีวิทยุกระจายเสียง/ สถานีวิทยุโทรทัศน์ในพื้นที่ (ถ้ามี) ไม่มี

สื่อมวลชนในพื้นที่ เช่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ไม่มี

ระบบเสียงตามสาย/หอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ ๖๐ ของพื้นที่ทั้งหมด

หน่วยงานที่มีข่ายวิทยุสื่อสารในพื้นที่ ปกครองอำเภอ ตำรวจ
ลักษณะการใช้ที่ดิน
พื้นที่พักอาศัย, พื้นที่พาณิชย์กรรม |
300 ไร่ |
พื้นที่ตั้งหน่วยงานของรัฐ |
6 ไร่ |
สวนสาธารณะ/นันทนาการ |
25 ไร่ |
พื้นที่เกษตรกรรม |
5,653 ไร่ |
พื้นที่อุตสาหกรรม |
- ไร่ |
พื้นที่ตั้งสถานศึกษา |
10 ไร่ |
พื้นที่ว่าง |
- ไร่ |